การปกครองของสุโขทัย

การปกครองของสุโขทัย

การปกครองของไทย

การปกครองสุโขทัย     
         อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช
มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก   ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
     อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921  และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981



ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย 


      แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้


การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น  (พ.ศ. 1792 - 1841)


     ในช่วงต้นของการสถาปนากรุงสุโขทัยเริ่มจากสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จนสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  เป็นการปกครองแบบ  พ่อปกครองลูก
     การปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้ประชาชนทุกคนเสมือนหนึ่งเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  โดยมีกษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว  มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง  แต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองแต่เพียงพระองค์เดียว  ทรงยินยอมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองด้วย  ประชาชนจึงเรียกกษัตริย์ว่าพ่อขุน  เช่น  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  พ่อขุนรามคำแหง  เป็นต้น  การปกครองลักษณะนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนว่ามีความใกล้ชิดกันมาก
     กษัตริย์นอกจากจะเป็นผู้ปกครองและเป็นเสมือนพ่อแล้ว  ยังทรงเป็นตุลาการที่เที่ยงธรรมด้วย  จากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระองค์ทรงให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง  เมื่อพ่อขุนทรงทราบเรื่องก็จะออกมาไต่สวนคดีความด้วยพระองค์เอง
     นอกจากนั้น  ในยามเกิดศึกสงครามพ่อขุนจะทรงเป็นจอมทัพของกองทัพหลวง  เมืองขึ้นต่าง ๆ จะต้องเกณฑ์ทัพมาร่วมกันต่อสู้ป้องกันราชอาณาจักรและเมื่อยามบ้านเมืองสงบ  พ่อขุนจะทรงออกว่าราชการและดูแลทุกข์สุขของราษฎร  เช่น  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  พระองค์จะทรงออกว่าราชการที่ป่าตาล  โดยประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตรเป็นประจำทุกวัน  ยกเว้นในวันพระและวันโกน  โดยในวันดังกล่าวนี้จะทรงนิมนต์พระเถระให้มาเทศนาสั่งสอนประชาชนเป็นประจำ



การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย  (พ.ศ. 1841 - 1981)


     หลังจากสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว  กษัตริย์องค์ต่อมา  คือ  พญาเลอไทย  และ  พญางั่วนำถม  ในช่วงนี้อาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสวยเมืองต่าง ๆ พากันแยกตัวอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย  ภายในบ้านเมืองเกิดความไม่สงบเรียบร้อย  มีการแย่งชิงราชสมบัติกันอยู่เนื่อง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูกเริ่มเสื่อมลง
     เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  ทรงขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890  พระองค์ทรงตระหนักถึงความไม่สงบเรียบร้อยดังกล่าว  และทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารเพียงอย่างเดียวคงทำได้ยาก  เพราะกำลังทหารของกรุงสุโขทัยในขณะนั้นไม่เข้มแข็งพอ  พระองค์จึงทรงดำเนินนโยบายใหม่ด้วยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นหลักในการปกครองอาณาจักร  พร้อมกับได้ขยายอำนาจทางการเมืองออกไป
     การปกครองที่ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักนี้  เรียกว่า  การปกครองแบบธรรมราชา  กษัตริย์ผู้ปกครองอยู่ในฐานะธรรมราชาหรือพระราชาผู้ทรงธรรม  ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม



การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ

      1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
      2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
      3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น

 การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น 



  1. เมืองหลวง หรือเมืองราชธานี    อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือเมืองราชธานีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเอง   เมืองราชธานี เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาวัฒนธรรมประเพณ๊
 2   เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวเมืองชั้นใน  ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า  2 วัน  เมืองลูกหลวงมีดังนี้
                      ทิศเหนือ                 ได้แก่        เมืองศรีสัชนาลัย
                      ทิศตะวันออก         ได้แก่        เมืองสองแคว  ( พิษณุโลก )
               ทิศใต้                       ได้แก่        เมืองสระหลวง    ( เมืองพิจิตรเก่า  )
               ทิศตะวันตก              ได้แก่       เมืองนครชุม     ( กำแพงเพชร )   
 เมืองลูกหลวงมีความสำคัญรองมาจากเมืองหลวง   ผู้ที่ถูกส่งไปปกครองคือเจ้านายเชื้อพระวงษ์
3. เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก ห่างจากเมืองราชธานีออกไปมากกว่าเมืองลูกหลวง  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถไปปกครองดูแลเมืองเหล่านี้โดยขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีวิธีการปกครองเช่นเดียวกับหัวเมืองชั้นใน เมืองพระยามหานครในสมัยสุโขทัย    เช่น เ มืองพระบาง  (นครสวรรค์ ) เมืองเชียงทอง ( อยู่ในเขตจังหวัดตาก )เมืองบางพาน ( อยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร )    เป็นต้น
4. เมืองประเทศราช       ได้แก่เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นชาวต่างชาติต่างภาษาพระมหากษัตริย์ทรงดำเนินนโยบายในการปกครองคือให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันอง  โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน  ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุก 3 ปี     ยามสงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมาช่วย   สมัยพ่อขุนรามคำแหงมีเมืองประเทศราชหลายเมืองดังต่อไปนี้คือ
       ทิศเหนือ                                     ได้แก่         เมืองแพร่ เมืองน่าน
       ทิศตะวันตก                               ได้แก่         เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
       ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ         ได้แก่          เมืองเซ่า   ( หลวงพระบาง )         เมืองเวียงจันทน์
       ทิศใต้                                           ได้แก่          เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์  
อาณาจักรอยุธยา


อาณาจักรอยุธนาสถาปนาโดยพระรามาธิบดีที่ 1


       เมื่อพ.ศ. 1893 และถูกทำลายลงโดยกองทัพพม่าในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อ พ.ศ. 2310 มีกษัตริย์ปกครอง 34 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณบุรี ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีพุทธศาสนาหินยานเป็นศาสนาประจำอาณาจักร และมีความเชื่อด้านวิญญาณนิยมกับพุทธมหายานเจือปนด้วย ในราชสำนักใช้พิธีกรรมที่เป็ฯฮินดู-พราหมณ์ เพื่อสร้างอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานระหว่าง "ธรรมราชา" กับ "เทวราชา"


       มีเมืองที่สำคัญ 2 เมืองคือ ลพบุรีกับสุพรรณบุรี ลพบุรีเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมลัทธิศาสนาและวิชาการด้านต่างๆ สุพรรณบุรี เป็นศูนย์กลางของกำลังคนมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี


การเมืองอยุธยา      
       การเมืองระดับสูง(อยุธยาตอนต้น) เป็นการแย่งชิงอำนาจของ 2 ราชวงศ์ ระหว่างราชวงศ์อู่ทองและราชวงศ์สุพรรณบุรี มีการแข่งส่งทูตไปเมืองจีนเพื่อสร้างฐานะของตนในอยุธยา เพราะการรองรับจากจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจในเอเชีย เท่ากับเป็นการเสริมความมั่นคงทางอำนาจทางการเมืองของกษัตริย์อยุธยา
การขยายอำนาจทางการเมืองของอยุธยา ทำให้เกิดการแข่งขันและขัดแย้งกับพม่า โดนเฉพาะการแย่งชิงอำนาจเหนือเชียงใหม่และอาณาจักรมอญ(พม่าตอนล่าง) ทำให้อยุธยาพ่ายแพ้พม่าในพ.ศ. 2112 และถูกพม่าทำลายลงในพ.ศ. 2310(เสียกรุงครั้งที่ 2)
       ระบบการปกครองของอยุธยา เป็นระบบ"ราชาธิปไตย" หมายความว่า...กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดแต่ยังไม่มีการแบ่งระบบระหว่างเจ้ากับขุนนางอย่างแท้จริงเหมือนดังที่ปรากฏในสมัยตอนกลางรัตนโกสินทร์ การปกครองใช้ระบบ"ศักดินา" แบ่งชั้นคนในสังคมออกเป็น เจ้า-ขุนนาง-พระสงฆ์-ราษฎร มีการเกณฑ์แรงงาน"ไพร่" และเก็บอากร"ส่วย"เป็นผลิตผลและตัวเงิน
การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง 1991 - 2231


      การปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา  หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา
 
      โดยมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ


          1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
          2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน

การปกครองส่วนกลาง 
    
     สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ
     - กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
     - กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ
     - นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ


         กรมเมือง (เวียง)        มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
         กรมวัง                   มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
         กรมคลัง                 มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
         กรมนา                   มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี

การปกครองส่วนภูมิภาค 

         สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้


    1.) หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง
    2.) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น
    3.) หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย

การปกครองส่วนท้องถิ่น


แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น


    1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า  จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
    2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน 
    3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
    4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง


ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่


    1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด
    2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการ   
        ตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
    3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)
 การเมืองการปกครองสมัยกรุงธนบุรี


    ลักษณะการปกครองส่วนใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี ยังคงมีรูปแบบเหมือนสมัยอยุทธยาตอนปลายซึ่งยึดหลักการปกครองตามแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางไว้คือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง โดยแบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ส่วน คือ การปกครองส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค
     1. การปกครองส่วนกลาง

     พระมหากษัตริย์พระราชอำนาจสูงสุด มีอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่าย และเสนาบดี 4 กรม รับผิดชอบดูแลช่วยเหลือข้าราชการแผ่นดิน ได้แก่
           1.1 สมุหกลาโหม มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลหัวเมืองผ่ายใต้และกิจการทหาร

           1.2 สมุหนายก รับผิดชอบดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ และกิจการพลเรือน โดยมีจตุสดมภ์ซึ่งประกอบด้วยเสนาบดี 4 กรม เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ดังนี้






2. การปกครองส่วนภูมิภาค    แบ่งออกเป็น
          1. หัวเมืองชั้นใน(เมืองจัตวา) ได้แก่ เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี มีผู้ปกครอง เรียกว่า ผู้รั้งเมือง เป็นผู้ช่วยพระมหากษัตริย์ในการปกครอง ได้แก่ เมืองพระประแดง เมืองนนทบุรี เมืองสามโคก

          2. หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ หัวเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป เรียกว่า เมืองพระยามหานคร มีผู้ปกครองเรียกว่า เจ้าเมือง โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่ตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบในราชการศึกสงครามออกไปปกครอง โดยจะแบ่งตามขนาดและความสำคัญของเมืองออกเป็น เมืองชั้นนอก โท ตรี จัตวา โดยรูปแบบเป็นเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงฐานะของเมืองออกไปจากเดิม

          3. เมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองที่มีประชาชนไม่ใช่คนไทย แต่อยู่ในอำนาจของไทย พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองที่เป็นชนพื้นเมืองให้ปกครองกันเอง โดยให้เป็นอิสระในการปกครอง แต่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของเมืองหลวงและต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการแก่เมืองหลวง ได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร และหัวเมืองมลายู




การปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์


สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยการสร้างชาติบ้านเมือง ให้รุ่งเรืองเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังคำกล่าวที่ว่า "ทำให้เหมือนเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี" ดังนั้นช่วงรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ เป็นสมัยที่ กรุงรัตนโกสินทร์เจริญรอยตามแบบกรุงศรีอยุธยา ทั้งทางด้านรูปแบบและการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

โครงสร้างสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์
โครงสร้างสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีรูปแบบเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งเป็นสังคมครอบครัวและสังคมทั่วไป สังคมครอบครัวไม่แตกต่างจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนสังคมทั่วไปมีรายละเอียดปลีกย่อยออกไปและยังคงแบ่งคนในสังคมทั่วไปเป็น ๒ ชนชั้น คือชนชั้นผู้ปกครองประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ นักบวช กับชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง คือไพร่และทาส

ชนชั้นผู้ปกครองผู้ปกครองมีฐานะเป็นมูลนาย มูลนายมี ๒ อย่างคือ มูลนายโดยกำเนิด ได้แก่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ และมูลนายโดยการดำรงตำแหน่ง เช่นขุนนางข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมไพร่ตามอำนาจความรับผิดชอบของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ และแตกต่างจากมูลนายโดยกำเนิดที่ศักดินา สิทธิและอำนาจ ที่ล้วนขึ้นอยู่กับตำแหน่ง มูลนายโดยตำแหน่งที่มีความสำคัญและมีอำนาจมากที่สุดคือ พระมหากษัตริย์ รวมถึงกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและเจ้านายที่ทรงกรม
มูลนายยังแบ่งเป็น ๒ ชั้นคือ มูลนายระดับสูง และ มูลนายระดับล่าง ซึ่งปรากฏในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง มูลนายระดับสูงหมายถึงผู้ถือศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป ซึ่งมีทั้งเจ้านาย ขุนนาง พระภิกษุ พราหมณ์ ผู้รู้ศิลปศาสตร์ รวมทั้งพระมหากษัตริย์ด้วย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมูลนายระดับสูงทำให้คนเหล่านั้นมีสิทธิพิเศษบางประการ เช่น มีสิทธิเข้าเฝ้า ขณะเสด็จออกว่าราชการและลูกมูลนายระดับสูงได้รับการยกเว้นไม่ต้องสักเป็นไพร่
มูลนายระดับล่าง หมายถึงผู้ถือศักดินาระหว่าง ๓๐-๔๐๐ มูลนายระดับสูงเป็นผู้แต่งตั้งให้มาช่วยราชการ ทำหน้าที่ควบคุมไพร่โดยอยู่ใต้บังคับบัญชาของมูลนายระดับสูงอีกทีหนึ่ง ได้รับสิทธิพิเศษไม่ถูกสักเป็นไพร่ เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ครอบคลุมถึงครอบครัว คนเหล่านี้เป็นฐานอำนาจของมูลนายระดับสูง

ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง

ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครองประกอบด้วยไพร่และทาส ไพร่คือราษฎรสามัญทั่วไปซึ่งมีจำนวนมากและเป็นคนส่วนใหญ่ของราชอาณาจักร ต้องสังกัดมูลนายเพื่อแลกเปลี่ยนกับความคุ้มครอง ถือศักดินาระหว่าง ๑๐-๒๕ ความเป็นไพร่มีมาแต่กำเนิดและได้รับการแบ่งปันขึ้นสังกัดกรมกองต่าง ๆ เมื่อลูกหมู่ชายหญิงอายุ ๙ ปีขึ้นไป ไพร่ยังมาจากผู้ที่สึกจากสมณเพศ ทาสที่เป็นไทและมูลนายที่ทำผิดแล้วถูกถอดเป็นไพร่ ส่วนทาสมีศักดินา ๕ ทาสมีทั้งทาส ที่เป็นมาแต่กำเนิด เชลยศึก ผู้ที่ขายตัวหรือถูกขายตัวเป็นทาส ทั้งไพร่และทาสมีหน้าที่เหมือนกันตรงที่ต้องถูกเกณฑ์ไปรบเมื่อมีราชการสงคราม

ไพร่ มีระเบียบว่า เริ่มจากแบ่งลูกหมู่อายุ ๙ ปีขึ้นไปเข้าสังกัดมูลนายเป็นไพร่หลวง ไพร่สม หรือไพร่ส่วย ตามสังกัดของบิดามารดา มูลนายต้องทำบัญชีไว้จนกว่าจะปลดชรา การปลดชราไพร่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่เดิมก่อน พ.ศ. ๒๔๔๒ ไม่มีกำหนดอายุสิ้นสุดของไพร่เป็นลายลักษณ์อักษร การปลดชราพิจารณาจากสังขารของไพร่ และค่อย ๆ มีแนวโน้มว่าอายุควรเป็นเครื่องกำหนดได้และตระหนักว่าคนอายุ ๗๐ ปี ใช้ราชการไม่ค่อยได้แล้ว แต่ยังคงใช้ทำงานเบา ๆ ต่อไป อายุจึงไมใช่เครื่องกำหนดในการปลดชราและตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๒ ไพร่ปลดชราเมื่ออายุ ๖๐ ปี ไพร่สมัยรัตนโกสินทร์มี ๓ ประเภทดังนี้

๑. ไพร่หลวง หมายถึงไพร่ของหลวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ พวกนี้กระจายอยู่ตามกรมกองต่าง ๆ มีเจ้ากรมและข้าราชการกรมต่าง ๆ ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ สมัยรัชกาลที่ ๑ ไพร่หลวงเข้ารับราชการปีละ ๔ เดือนคือเข้าเดือน ออก ๒ เดือน สมัยรัชกาลที่ ๒ รับราชการ ๓ เดือนต่อปีหรือเข้าเดือนออก ๓ เดือนใช้มาจนสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต้นรัชกาลไพร่หลวงจึงเข้ามารับราชการปีละหนึ่งเดือน พ.ศ. ๒๔๒๕ จึงได้เริ่มมีการปลดปล่อยไพร่และทาส

๒. ไพร่สม เป็นกำลังคนส่วนใหญ่ของมูลนาย มักเรียกรวม ๆ กันว่า ข้าหรือข้าเจ้า บ่าวขุนนาง สมัยต้นรัตนโกสินทร์ไพร่สมต้องรับใช้มูลนายของตนและต้องรับใช้ข้าราชการ โดยการมาให้แรงงานปีละ ๑ เดือน หากไม่ไป จะต้องเสียเงินให้ราชการหนึ่งตำลึงสองบาท (๖ บาท)

ไพร่สมเป็นเสมือนสมบัติของมูลนาย ที่จะใช้งานส่วนตัวได้โดยไม่ระบุเวลาใช้งานที่แน่นอน เเต่ไม่ใช่สมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกเมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง แต่ความเป็นจริงมักปรากฏว่าทายาทของมูลนายเดิมหรือมูลนายอื่นจะถือโอกาสขอตัวไพร่สมนั้นไว้ พระมหากษัตริย์มักจะพระราชทานให้ตามที่ขอ สมัยรัชกาลที่ ๑ กฎหมายยังให้สิทธิแก่ไพร่สมฟ้องร้องมูลนายของตนได้ ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าชนะความจะพ้นจากความเป็นไพร่สมไปเป็นไพร่หลวง นอกจากนั้นถ้านายทำผิดแล้วต้องโทษ ไพร่สมของมูลนายคนนี้จะถูกโอนเป็นไพร่หลวงแยกไปสังกัดกรมกองต่าง ๆ มีมูลนายใหม่ควบคุม

๓. ไพร่ส่วย หมายถึงไพร่ที่ไม่ต้องทำงานให้รัฐ แต่ส่งส่วยให้เป็นการตอบแทนการส่งส่วยมีทั้งส่งเป็นรายปีและส่วยเกณฑ์กรณีพิเศษ เช่น เรียกเกณฑ์ให้ตัดไม้มาใช้ในการสร้างพระเมรุ ขุดหาแร่ทองแดงมาหล่อพระพุทธรูป ฯลฯ บางครั้งอาจเรียกเกณฑ์แรงงานไพร่ส่วยได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทางการจัดหาเสบียงอาหารให้ด้วย
ไพรส่วยนี้ที่จริงแล้วคือไพร่หลวงที่ไม่สะดวกในการเข้ารับราชการหรือทางการไม่ต้องการแรงงานเพราะไม่สามารถหางานให้คนทั่วราชอาณาจักรทำได้ อีก ทั้งต้องการส่วยสิ่งของเพื่อไปค้าสำเภาด้วย จึงกำหนดให้ส่งส่วยแทน

ข้าพระโยมสงฆ์ จัดเป็นไพร่ส่วยด้วย อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้ากรม ปลัดกรมและสมุหบัญชีเช่นเดียวกับไพร่กองอื่น ๆ ต่างกันที่เป็นของฝ่ายพทุธจักร เพราะทางการได้หักกำลังคนส่วนนี้ออกจากกรมกองเดิม พ้นจากหน้าที่ที่ทำอยู่เดิมแล้วมอบให้วัดเพื่อให้แรงงานโดยตรง พวกนี้มีหน้าที่ทำงานให้วัดและช่วยวัดอื่นๆ ด้วย สมัยรัชกาลที่ ๔ ข้าพระโยมสงฆ์ส่วนหนึ่งต้องทำส่วยส่งรัฐเป็นรายปีด้วย

ทาส

คือพลเมืองอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่เป็นพลเมืองที่มีสถานะเหมือนทรัพย์สินส่วนตัวของนายเงิน การโอนหรือขายต่อเป็นสิทธิของนายเงิน ทาสจึงต่างจากไพร่ตรงจุดนี้ กฎหมายยังรับรองสิทธิของนายเงินที่มีเหนือทาส ขณะเดียวกันก็มีกฎหมายให้ความคุ้มครองทาสด้วย ทาสสมัยรัตนโกสินทร์มีสภาพเช่นเดียวกับทาสสมัยกรุงศรีอยุธยาดังได้กล่าวมาแล้ว